เมื่อ 19 กันยายนที่ผ่านมา นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ (เพนกวิน) แกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ปราศรัยบนเวทีการชุมนุม 19 กันยาทวงคืนอำนาจราษฎร ที่ท้องสนามหลวง เรียกร้องให้ผู้ชุมนุมถอนเงินจากธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เพราะความเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือหุ้นอยู่เกือบ 1 ใน 4 ของหุ้น
ทำให้เกิดกระแสการยกเลิกการใช้บัญชีธนาคารอย่างต่อเนื่องในวันที่ 20 กันยายนเป็นต้นมา #แบนSCB รวมไปถึงคนดังในวงการอย่าง เช่น ดารานักแสดงอย่าง ทราย เจริญปุระ ก็เรียกร้องให้มีการปิดบัญชี
ไทยพาณิชย์ เป็นธนาคารไทยแห่งแรกที่ก่อตั้งขึ้นโดยพระบรมราชานุญาตเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2449
ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 5 อันดับแรกของหุ้น SCB ได้แก่
- พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 23.38% จำนวน 793,832,359 หุ้น (ที่ 67 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่า 5.3 หมื่นล้านบาท)
- กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) 11.56%
- กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 11.56%
- บริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 10.20%
- สำนักงานประกันสังคม 3.22%
มี พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขาธิการ เป็นกรรมการคนหนึ่งของธนาคาร
นอกจาก SCB ยังมีอีกหลายธนาคารที่โดนเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์, ป่ารอยต่อ หรือ รัฐบาลถือหุ้นใหญ่ และความเกี่ยวข้องอื่นๆ
มีเพียงไม่กี่ธนาคาร อย่าง กรุงศรี ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเพราะถูกเทคโอเวอร์ไปโดยบริษัทญี่ปุ่น
salim check #แบนscb pic.twitter.com/UQPCFeWpXf
— จ๊อกจ๊อกแปลว่าอิสระฉันไม่ยอมไปเป็นทาสคุณหรอกค่ะ||| (@KanchaSura) September 20, 2020
เคสนี้เคยเกิดในการประท้วงที่ฮ่องกงมาก่อน ชุมนุมประท้วงเรียกร้องไม่ให้ใช้บริการธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) และกล่าวหาว่าเอชเอสบีซีช่วยเหลือตำรวจให้จัดการกับกองทุนแห่งหนึ่ง ที่ตั้งขึ้นเพื่อระดมทุนเป็นท่อน้ำเลี้ยงให้แก่ผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล และจับกุมผู้เกี่ยวข้องกับกองทุนจำนวน 4 คน ฐานฟอกเงิน
ผลกระทบหลังการแบน SCB ยังไม่ชัดเจนนัก ซึ่งผลจากการปิดบัญชี หรือ ถอนเงินจนเหลือยอด 0 บาท รวมถึงบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่กำลังเปิดตัว อย่าง แอพส่งอาหาร Robinhood หรือ เว็บไซต์ เหมา-เหมา แพลตฟอร์มรวมแบรนด์และผู้ผลิตสินค้าส่ง ต้องรอดูผลในระยะยาว
ที่น่าจะส่งผลกระทบโดยตรง น่าจะเป็นด้านตลาดหุ้น SCB อาจมีผลกับความหวั่นวิตกของนักลงทุนผู้ถือหุ้นโดยตรง จนส่งผลให้ผู้ถือหุ้นมีมูลค่าทรัพย์สินลดลงได้ แต่บ่อยครั้งที่ไม่มีผลกระทบ อย่าง ในช่วงตลาดเปิดในวันจันทร์ที่ 21 กันยายน ยังค่อนข้างทรงตัวจนตลาดปิด ซึ่งผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่น่าจะยังไม่เทขายในทันที
ส่วนหนึ่งอาจเพราะมูลค่าของ SCB เคยสูงถึง 123 บาทต่อหุ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ก่อนมีปัญหาเรื่อง โควิด-19 และปัจจุบันมูลค่าอยู่ในระดับที่ไม่น่าจะลดไปอีก, แบงก์มีเงินทุนสำรองจำนวนมาก และต่อให้หุ้นตก ก็น่าจะกลับมาได้หลังหมดกระแสแบน ทำให้มีคนช้อนซื้อเก็บไว้ แข่งกับคนที่เทขาย
ทั้งนี้ ต้องรอดูผลในระยะยาวกันต่อไป เพราะทางฝั่งธนาคาร HSBC ที่ฮ่องกงที่เคยโดนประท้วงมานาน ก็หุ้นร่วงสุดในรอบกว่า 25 ปีในวันเดียวกัน อาจต้องใช้เวลา
Update อังคาร 22 ก.ย. 2020 : หุ้นแบงก์ทั่วโลกร่วงในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากพบความทุจริตครั้งใหญ่ โดยแบงก์ไทยมีเอี่ยวด้วย อาจไม่เกี่ยวกับ Ban SCB
สงสัยจะแบนผิดแบงก์!!
เช้านี้หุ้นแบงก์ #SCB ทะยาน
ขณะที่หุ้น #HSBC วูบต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1995หมายเหตุ : เมื่อวานแกนนำ #ม็อบมุ้งมิ้ง ได้เรียกร้องให้แบนแบงก์ SCB pic.twitter.com/vdTPgeuZgT
— pone poyepoloye (@motorwars) September 21, 2020
นอกจาก SCB แล้ว ยังมีบางหุ้นที่ถือมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นรัชกาลที่ 10 เช่น หุ้น SCC ของบริษัท SCG หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นถึง 33.64% จำนวน 403,647,840 หุ้น (ที่ 337 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่า 1.36 แสนล้านบาท)
ภาพประกอบปกจาก Youtube เรื่องเล่าข่าว การเมืองออนไลน์